ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ว่านชักมดลูก สมุนไพร เพิ่มความ ฟิตกระชับ สำหรับผู้หญิง

สรรพคุณของ ว่านชักมดลูก

      “ว่านชักมดลูก” เป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์ และปลอดภัยสำหรับผู้หญิง เพราะว่านชักมดลูกมีฤทธิ์ช่วยทำให้กล้ามเนื้อกระชับ เสริมหน้าอก ทำให้ผิวพรรณขาวใส นอกจากนี้ว่านชักมดลูกยังช่วยรักษามดลูกต่ำ ช่วยกระชับช่องคลอด กระชับหน้าท้องที่หย่อนยาน อันมาจากสาเหตุการคลอดบุตร ทำให้หน้าท้องดึงเรียบ คุณสมบัติเด่นอีกข้อคือช่วยแก้อาการหมดความต้องการทางเพศในผู้หยิงได้ ว่านชักมดลูกสรรพคุณยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะยังช่วยให้ในเรื่องอารมณ์ของผู้หญิงที่มีอารมณ์ขึ้นๆลงๆ หงุดหงิด โมโหง่าย โกรธง่าย จิตใจห่อเหี่ยว เเละอ่อนไหวง่ายให้หายไป อีกทั้งยังช่วยในการป้องกันมะเร็งปากช่องคลอด หรือมะเร็งในมดลูก ช่วยรักษาซีสต์ และเนื้องอกภายในช่องคลอด อีกทั้งยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ผลดีทีเดียว
      เเต่การใช้สมุนไพรว่านชักมดลูก เพียงอย่างเดียวจะให้สรรพคุณได้ไม่มากเท่าที่ควร ตามตำราโบราณได้ระบุถึงการนำสมุนไพรมาใช้งานว่าต้องปรุงขึ้นตามสูตรยานั้นๆ และจำเป็นต้องอาศัยสมุนไพรอีกหลายชนิดผสมเข้าไป จึงจะช่วยให้ออกฤทธิ์ และได้ผลสูงสุด ซึ่งสรรพคุณของว่านชักมดลูก ที่มีบันทึกตามตำรับยาแผนโบราณเมื่อหลายร้อยปีก่อน ได้ระบุถึงผลการนำมาบำบัดอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายไว้ว่า
      เหง้า รักษาเลือดออกจากมดลูกหลังคลอด รักษามดลูกอักเสบ แก้ตับอักเสบ แก้ปวดท้อง ขับน้ำดี รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้อาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน ตกขาว ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย แก้ริดสีดวงทวาร
      หัวตำดองด้วยสุรารับประทานครั้งละไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ สำหรับคนคลอดบุตรใหม่ ๆ แก้เจ็บปวดมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่หรือเข้าที่ ไม่อักเสบ ในชายที่เป็นไส้เลื่อน หรือกระษัยกล่อนลงฝักปวดเสียวลูกอัณฑะ อัณฑะแข็งเป็นเส้น เจ็บปวด ใช้หัวฝนกับสุราทาบริเวณที่เจ็บปวด เป็นเวลา 3-4 วัน
  1. ว่านชักมดลูกมีความปลอดภัยมากกว่า กวาวเครือขาว และยังช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  2. ว่านชักมดลูกช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือมดลูกต่ำไม่เข้าที่
  3. มีส่วนช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก
  4. ว่านชักมดลูก ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด
  5. มีส่วนช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และรอยดำ
  6. ว่านชักมดลูก ช่วยแก้อารมณ์แปรปรวนต่างๆของสตรี เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว โกรธง่าย อ่อนไหวง่าย ให้หายไป
  7. ว่านชักมดลูกช่วยกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอดบุตร
  8. ว่านชักมดลูกช่วยกระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
  9. ว่านชักมดลูกช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอดหรือในมดลูก
  10. ว่านชักมดลูกช่วยรักษาซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดให้ฝ่อตัวลง
  11. ว่านชักมดลูกมีสรรพคุณช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอดของสตรีให้ลดลง หรือหายไป
  12. ว่านชักมดลูกช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของสตรี
  13. ว่านชักมดลูกช่วยรักษาอาการหน่วงเสียวของมดลูก หรืออาการเจ็บท้องน้อยเป็นประจำให้ดีขึ้น
  14. ว่านชักมดลูกช่วยแก้ปัญหาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้
  15. ว่านชักมดลูกช่วยรักษาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน หรืออาการปวดท้องอย่างรุนแรงให้มีอาการดีขึ้น
  16. ว่านชักมดลูกช่วยแก้อาการตกขาวในสตรี ทำให้อาการดีขึ้น
  17. ว่านชักมดลูกช่วยทำให้สตรีมีอารมณ์ทางเพศที่สมบูรณ์ ทำให้อารมณ์ทางเพศที่ขาดหายไปกลับมาเหมือนเดิม
  18. ว่านชักมดลูกช่วยขับน้ำคาวปลา
  19. ว่านชักมดลูกช่วยแก้พิษอาหารไม่ย่อย ช่วยดับกลิ่นปาก และกลิ่นตามตัว
  20. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
  21. ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน
  22. ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่างๆ ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง
  23. ว่านชักมดลูกช่วยป้องกัน และรักษาโรคกระดูกพรุน โดยช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยรักษาความหน้าแน่นของมวลกระดูก
  24. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและคามผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย
  25. ว่านชักมดลูกช่วยรักษาซ่อมแซมระบบหลอดเลือด และหัวใจ
  26. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ช่วยป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น
  27. ว่านชักมดลูกช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ช่วยทำลายดีเอ็นของเซลล์มะเร็ง
  28. ช่วยในการลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าไปในตับ และช่วยเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอล และกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหาร และออกจากร่างกายพร้อมกับอุจจาระ
  29. ว่านชักมดลูกประโยชน์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี และช่วยเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากยิ่งขึ้น จึงช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
  30. ว่านชักมดลูกมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ โดยไปช่วยกระตุ้นกลไกการล้างพิษ และลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษกับร่างกาย
  31. มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบต่างๆ ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท
  32. ว่านชักมดลูกช่วยปกป้องตับ และไต                                                                                     
                                                        
     รูปแบบและวิธีการใช้ ว่านชักมดลูก ในสตรี
          ระยะแรก ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มมีประจำเดือน จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตตามลักษณะของผู้หญิงที่ควรจะเป็น เช่น ไม่มีอาการปวดประจำเดือน ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส หน้าอกเต่งตึงตามวัย
    ช่วยรักษาอาการตกขาวที่ผิดปกติ และทำให้อารมณ์แจ่มใสขึ้น
          ระยะที่สอง วัยแต่งงานหรือมีบุตรแล้ว จะช่วยทำให้อารมณ์ทางเพศสมบูรณ์ขึ้น ช่องคลอดกระชับ หน้าอกเต่งตึงอยู่เสมอ หน้าท้องไม่ลายหลังจากการคลอดบุตร นอกจากนี้ยังช่วยทำให้อารมณ์จิตใจแจ่มใสสดชื่น ช่วยดับกลิ่นไม่พึงปรารถนา และลบรอยเหี่ยวย่นตามร่างกายทั่วไปได้ดี
          ระยะที่สาม หรือระยะเริ่มเข้าสู่วัยทอง คือหลังจากอายุ 45 ปีขึ้นไป ว่านชักมดลูกจะช่วยไม่ให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด มึนหัว หน้ามืด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาการร้อนวูบวาบ ปวดเนื้อ ปวดหัว อารมณ์ฉุนเฉียว โมโหง่าย จิตใจห่อเหี่ยวซึมเศร้า ท้อแท้ ความจำเสื่อม นอนหลับยาก เวลาร่วมเพศไม่มีอารมณ์ น้ำหล่อลื่นไม่มี อาการเหล่านี้ตามตำราโบราณได้มีบันทึกไว้ว่าว่านชักมดลูกสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ นี้ได้
     รูปแบบและวิธีการใช้ ว่านชักมดลูก ตามตำราโบราณ
    1. แก้ปวดมดลูก ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ นำหัวว่านชักมดลูกมาฝนกับเหล้าดื่ม หรือใช้ปรุงยาต้ม แก้มดลูกพิการปวดบวม ทำให้มดลูกรัดตัวเล็กลง เรียกว่า มดลูกเข้าอู่ สำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่
    1. โรคลำไส้ ริดสีดวงทวาร นำหัวว่านสดมารับประทานแก้โรคลำไส้ หรือ ใช้หัวว่านชักมดลูกตำเป็นผงกินกับน้ำร้อน แก้ริดสีดวงทวารชนิดกลีบมะไฟ และเดือยไก่ หรือนำหัวว่านชักมดลูกสด รับประทานแก้โรคริดสีดวงทวารได้ โดยตำให้แหลกผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน หรือจะดื่มกับน้ำร้อนก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
    1. แก้อาการมดลูกพิการ หรือแก้มุตกิตระดูขาว ให้นำหัวว่านชักมดลูกไปฝานเป็นชิ้นๆ จากนั้นนำไปปิ้งหรือย่างไฟให้แห้ง แล้วนำมาดองกับเหล้าสกัดสักสองสามวัน ดื่มวันละสองเวลาก่อนอาหาร จะช่วยบำบัดอาการทั้งหลายเหล่านั้นให้สิ้นไป หรือหากแท้งลูกใหม่ๆ ก็ให้รับประทานว่านชักมดลูกนี้กับเหล้า หรือน้ำปูนใสอาการเจ็บป่วยต่างๆจะหายไปได้
    1. แก้กษัย ปัสสาวะขุ่น เบาแดง เบาเหลือง เบาหวาน สำหรับท่านชายหากเป็นกษัย ปัสสาวะขุ่นข้อง เบาแดง เบาเหลือง หรือขุ่นข้น เบาหวาน จะแก้ให้หายได้ โดยดื่มน้ำดองหัวว่านเป็นระยะเวลาสม่ำเสมอ ก็จะปราศจากอาการดังกล่าว
    1. รักษาผู้ชายที่เป็นไส้เลื่อน กระบังลมเคลื่อน ให้นำหัวว่านชักมดลูกมาโขลก ผสมกับเหล้าขาว 40 ดีกรี กรองเอาแต่น้ำดื่ม
  
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของว่านชักมดลูก
      ว่านชักมดลูกมีสารสำคัญไม่ต่ำกว่า 50 ชนิด ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มีงานวิจัย ได้แก่ การลดการอักเสบ โดยมีการใช้เป็นสมุนไพรท้องถิ่นในการแก้ปวด และโรคปวดข้อต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย ยับยั้งการสังเคราะห์กรดไขมัน ลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือดซึ่งสูง และลดโคเลสเตอรอลในตับของสัตว์ทดลอง ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับ เมื่อได้รับสารพิษ ต้านเชื้อรา ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด และมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ และยังยับยั้งเซลล์มะเร็งตับของคน โดยยับยั้งการแบ่งตัวและทำให้เซลล์มะเร็งตับตายเป็นจุด ๆ ได้
 ข้อควรระวังในการใช้ว่านชักมดลูก
  1. มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ก็มีคำแนะนำว่าสามารถรับประทานต่อไปได้เลย
  2. มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน มีอาการไอเหมือนจะเป็นไข้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้สตรีที่ร่างไม่แข็งแรง และมีคำแนะนำว่าให้หยุดรับประทานสักพักจนกว่าอาการไข้จะหายไป แล้วให้รับประทานต่อในปริมาณที่ลดลงครึ่งหนึ่ง
  3. มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังและตามลำตัว ซึ่งเป็นอาการที่พบได้น้อย มีคำแนะนำว่าถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากจนเกินให้รับประทานต่อได้ แต่ถ้าผื่นมากก็ให้ลปริมาณลงครึ่งหนึ่ง หากอาการดีขึ้นค่อยกลับมารับประทานในปริมาณที่กำหนด
  4. มีอาการปวดหน้าอก ตึงหน้าอก หรือปวดมดลูก ช่องคลอด แนะนำว่าหากมีอาการดังกล่าวให้ลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง หลังจากอาการดีขึ้นค่อยรับประทานในปริมาณที่กำหนด
  5. สำหรับสตรีวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน หลังจากรับประทานอาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้นได้ โดยคุณสามารถรับประทานต่อไปได้ ประจำเดือนก็จะค่อยๆ หมดไปเอง
  6. หากรับประทานว่านชักมดลูก ห้ามรับประทานของคาวจัด หรือมันเลี่ยนเกินไป เพราะจะทำให้ตัวยาอ่อนฤทธิ์ลงได้
.................................................................................................................................................................
หมายเหตุ* ทางเว็บไซต์ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการเผยเเพร่ความรู้ โดยไม่สามารถใช้แทนการวินิจฉัยของแพทย์ได้ 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
1. เว็บไซต์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
2. ศูนย์ข้อมูลแพทย์แผนไทย
3. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
4. ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 เมษายน 2545 เรื่อง ว่านชักมดลูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น