ดอกคำฝอย สมุนไพรสรรพคุณเด่นสำหรับผู้หญิง ห้ามพลาด!
ดอกคำฝอย
ชื่อสมุนไพร : คำฝอย
ชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
ชื่ออื่น : คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง), คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ), หงฮัว (จีน), ดอกคำฝอย คำทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Carthamus tinctorius L.
ชื่อวงศ์ :
Compositae
ส่วนที่ใช้ : ดอก เกสร เมล็ด น้ำมันจากเมล็ด ดอกแก่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
*
ต้นคำฝอย เป็นไม้ล้มลุก
มีความสูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก
เป็นพืชที่มีอายุสั้นทนแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร
ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี
โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะอยู่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ 24-32 องศาเซลเซียส
ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว
*
ใบคำฝอย มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ
รูปวงรี ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
ปลายเป็นหนามแหลม ใบมีความกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-12
เซนติเมตร
*
ดอกคำฝอย
ออกดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก
ดอกคำฝอยมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกคำฝอยบานใหม่ๆ
จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่จัดดอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
ที่ดอกมีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอกอยู่
*
เมล็ดคำฝอย
ลักษณะของเมล็ดคล้ายรูปไข่หัวกลับ ผลเบี้ยวๆ มีสีขาวงาช้างปลายตัดมีสัน 4 สัน ขนาดของผลยาวประมาณ 0.-6-0.8 เซนติเมตร
ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ด้านในผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี เปลือกแข็งมีสีขาว
มีขนาดเล็ก เมื่อผลแก่แห้งเมล็ดจะไม่แตกกระจาย
สรรพคุณคำฝอย
ตำรายาไทย :
ดอกคำฝอย ช่วยขับระดู บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต
แก้ตกเลือด แก้ดีพิการ ขับเหงื่อ ระงับประสาท แก้ไข้ในเด็ก แก้ดีซ่าน
แก้ไขข้ออักเสบ แก้หวัด น้ำมูกไหล แก้โรคฮิสทีเรีย อาการ รักษาอาการบวม
รักษาท้องเป็นเถาดาน ใช้เป็นยาระบาย รักษาอาการไข้หลังคลอด
ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนมาไม่เป็นปกติ เป็นยาสามัญประจำบ้าน
รักษาอาการป่วยไข้ในเด็ก บำรุงคนเป็นอัมพาต ดอกเป็นยาชงใช้ดื่มร้อนๆแก้ดีซ่าน
โรคไขข้ออักเสบ เป็นหวัดน้ำมูกไหล ต้มอาบเวลาออกหัด รักษาอาการคันตามผิวหนัง เกสร
บำรุงโลหิตระดู ขับระดู บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิตและน้ำเหลืองให้ปกติ
แก้ดีพิการ แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
ตำรายาพื้นบ้านของหลายประเทศ:
กล่าวว่าเนื่องจากดอกคำฝอยมีสีแดง จึงมีสรรพคุณบำบัดโรคที่เกี่ยวกับเลือด เช่น ระดู
ขับเหงื่อ โดยทำเป็นยาชง ยาระบายพวกโลหิต
1. คำฝอยสรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิค (Linoleic Acid) อยู่มากซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือด
และขับออกทางปัสสาวะ และทางอุจจาระ
2. ดอกคำฝอย ช่วยลดความอ้วน
ด้วยการใช้ดอกประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้า และเย็น
3. ดอก และกลีบดอกคำฝอย
ช่วยบำรุงประสาท และระงับประสาท
4. ดอกคำฝอยช่วยรักษาโรคฮิสทีเรีย
(Hysteria) หรือโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง หรือโรคขาดความอบอุ่น
5. ดอกคำฝอยช่วยขยายหลอดเลือด
ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น
ทำให้มีออกซิเจนเข้าถึงเซลล์ต่างๆ ได้ดี
6. คำฝอยช่วยบำรุงโลหิต
แก้โลหิตเป็นพิษ และช่วยฟอกโลหิต
7. ดอกคำฝอยช่วยสลายลิ่มเลือด
จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ชอบกินของหวาน เพราะจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ทำให้เลือดเหนียวข้นจับตัวกันเป็นลิ่มเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่ดี
โดยดอกคำฝอยจะช่วยสลายลิ่มเลือดให้เล็กลง
ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวกันเป็นลิ่มเลือด
8. ดอก
และกลีบดอกช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้มีเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจมากยิ่งขึ้น
ทำให้หัวใจแข็งแรง
9. เมล็ดดอกคำฝอยช่วยแก้โรคลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก
10. คำฝอยช่วยรักษาอาการปวดหัวใจอันเนื่องมาจากเลือด
และซี่ตับ หรือเลือดลมเดินไม่สะดวก
11. ดอกคำฝอยช่วยขับเหงื่อ
12. สรรพคุณของดอกคำฝอย
ช่วยรักษาอาการไข้หลังของคลอดของสตรี
13. สรรพคุณของดอกคําฝอย
ดอกช่วยแก้ไข้ในเด็ก
14. ดอกคำฝอยช่วยแก้หวัด
น้ำมูกไหล
15. เมล็ด
สรรพคุณใช้เป็นยาขับเสมหะ
16. เมล็ดหรือดอกใช้เป็นยาถ่าย
เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
17. ดอกคำฝอยช่วยรักษาท้องเป็นเถาดัน
18. เมล็ดคำฝอยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
19. ช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี
ช่วยขับระดูโลหิตประจำเดือนของสตรี
ช่วยกระจายเลือดแก้ประจำเดือนคั่งค้างมาไม่เป็นปกติ
20. ดอกคำฝอยช่วยระงับอาการปวดประจำเดือนของสตรี
21. ดอกคำฝอยช่วยแก้อาการตกเลือด
อาการปวดท้องหลังคลอด น้ำคาวปลาไม่หมด
22. ดอกคำฝอยช่วยแก้อาการปวดมดลูก
และลดอาการอักเสบของมดลูกในสตรี
23. ดอกและกลีบดอกคำฝอยช่วยแก้ดีพิการ
24. ดอกช่วยแก้ดีซ่าน
25. ช่วยรักษาตาปลา
ด้วยการใช้ดอกคำฝอยสด และตี้กู่ฝี ในปริมาณที่เท่ากัน นำมาตำผสมรวมกัน
แล้วใช้ปิดบริเวณที่เป็นตาปลา โดยเปลี่ยนยาวันละ 2
ครั้ง
ไม่เกิน 5 วันก็จะดีขึ้น
26. น้ำมันจากเมล็ด
ใช้ทาแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว รักษาโรคไขข้ออักเสบได้
หรือจะใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำแล้วพอกก็ได้
27. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
บำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติ
28. ช่วยป้องกันแผลกดทบ
ด้วยการใช้ดอกคำฝอยประมาณ 3 กรัม
นำมาแช่กับน้ำพอประมาณจนน้ำเป็นสีแดง แล้วนำมาถูกบริเวณที่กดทับ โดยถูครั้งละ 10-15 นาที หากทำอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยป้องกันแผลกดทับได้ถึง 100% โดยไม่มีผลข้างเคียง
29. ดอกคำฝอย
ช่วยแก้อาการแสบร้อนตามผิวหนัง
30. ดอกคำฝอยสรรพคุณช่วยบำรุงคนเป็นอัมพาต
31. น้ำมันจากเมล็ด
สรรพคุณใช้ทาเป็นยาแก้อัมพาต และอาการขัดตามข้อต่างๆ ได้
32. เมล็ดใช้ตำแล้วนำมาพอกบริเวณหัวเหน่า
ช่วยแก้อาการปวดมดลูกหลังการคลอดบุตรได้
33. ดอกคำฝอย
มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
34. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของคำฝอย
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด
ลดอาการอักเสบ แก้แพ้ ช่วยต้านเชื้อชา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งฟันผุ
ผลงานวิจัยคำฝอย
1. ค.ศ. 1976 ประเทศอเมริกา
ได้ทำการทดลองในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ชาย 122
คน
และหญิง 19 คน)
ด้วยการให้รับประทานน้ำมันดอกจากดอกคำฝอยทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ (วันละ 57 กรัม) ผลการทดลองพบว่า
น้ำมันจากดอกคำฝอย สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิต และระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้
และยังมีผลการสร้าง Prostaglandin ที่เป็นผลให้ High Density Lipoprotein เพิ่มขึ้น
2. ค.ศ. 1989 ประเทศอังกฤษ ได้ทำการทดลองน้ำมันดอกคำฝอย
ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิด Mild
Hypertension โดยให้รับประทานน้ำมันจากดอกฝอยทุกวันเป็นเวลา
4 สัปดาห์ (วันละ 5.9 กรัม) ผลการทดลองพบว่า
ค่าความดัน Systolic ลดลงมา 6.5 mm.Hg และค่าความดัน Diastolic
ลดลงมา
4.4 mm. จึงสรุปได้ว่าน้ำมันดอกคำฝอยมีผลในการช่วยลดความดันโลหิตได้จริง
3. มีการทดสอบความพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากดอกย่อยคำฝอย
ด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 2,500 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน
และให้โดยการฉีดเข้าใตผิวหนังของหนูในขนาดเท่ากัน ได้ข้อสรุปว่า
ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษแต่อย่างใด
4. การวิเคราะห์ทางคลินิกพบว่าสารสกัดจากดอกคำฝอยมีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง
มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกและฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยทำให้มดลูกและกล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้
แต่ถ้าหากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้มดลูกเป็นตะคริวได้
5. มีรายงานว่าน้ำมันจากเมล็ดดอกคำฝอยสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
แต่กลับไปสะสมระดับคอเลสเตอรอลในตับเสียเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตับแข็งได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : bookmuey.com
*** ใช้ในการเผยเเพร่เพื่อเป็นความรู้แก่บุคคคลทั่วไป ***